อาการเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

sleep apnea

ปัจจุบันคนหันมาใส่ใจในเรื่องสุขภาพมากขึ้น ไม่ว่าจะเป็นในเรื่องของอาหารที่รับประทาน การออกกำลังกาย แต่ใครหลายคนละเลยในเรื่องของสุขภาพการนอนหลับแต่จริงๆแล้วการนอนหลับถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญและส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันมากที่สุด เพราะการที่เรานอนไม่มีคุณภาพ หรือมีปัญหาในเรื่องของการนอนหลับอาจทำให้เกิดโรคอื่นๆตามมาได้ด้วยเช่นกันอาทิเช่น

โรคสมองเสื่อม
โรคซึมเศร้า
โรคความดันโลหิตสูง
โรคหลอดเลือดสมอง
เสื่อมสมรรถภาพทางเพศ
ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เป็นต้น

“ ทุกคนมีความเสี่ยงที่อาจจะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ถ้าปล่อยไว้เป็นภัยร้ายที่อันตรายถึงชีวิต ควรตรวจสุขภาพการนอนหลับเพื่อการรักษาที่ทันเวลา ”

สุขภาพการนอนหลับสำคัญกว่าที่คุณคิด

การนอนหลับที่มีคุณภาพไม่ได้หมายถึงการที่เรานอนจำนวนชั่วโมงที่เยอะเท่านั้น เพราะบางคนนอน 7-8 ชั่วโมง แต่ตื่นมายังรู้สึกไม่สดชื่น รู้สึกเพลียระหว่างวันอาจเป็นเพราะมีปัญหาในเรื่องของสุขภาพการนอนหลับเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับไม่รู้ตัว ลองทำความเข้าใจวงจรการนอนหลับเพื่อสำรวจตัวเองคร่าวๆว่าจริงๆแล้วเรามีการนอนหลับที่มีคุณภาพหรือไม่หรืออีกหนึ่งทางเลือกที่ทำให้เราได้ผลลัพธ์แม่นยำไม่ต้องคาดเดาเอาเองนั่นก็คือการ ตรวจสุขภาพการนอนหลับ (Sleep test)

ทำความรู้จักวงจรการนอนหลับ

วงจรนอนหลับ

โดยปกติวงจรการนอนหลับของคนเราแบ่งออกเป็น 2 ช่วงระดับการนอนคือ

1) ช่วงหลับธรรมดา (Non-Rapid Eye Movement Sleep หรือ Non-REM Sleep) สามารถแบ่งออกได้เป็นอีก 3 ระยะดังนี้

ระยะที่ 1 (Stage 1) ในระยะนี้สมองจะเริ่มทำงานช้าลง ถ้าถูกปลุกให้ตื่นในระยะนี้ จะไม่ค่อยงัวเงียหรืออาจจะรู้สึกว่ายังไม่ได้นอน อาจมีปรากฎการณ์ ตกใจตื่น (Hypnic Jerk) หรือการรู้สึกเหมือนกำลังจะตกจากที่สูง แล้วก็สะดุ้งตัวตื่นขึ้นมา
ระยะที่ 2 (Stage 2) การนอนในระยะนี้จะส่งผลต่อร่างกายทั้งกระตุ้นความจำระยะสั้น รวมถึงเพิ่มสมาธิได้
ระยะที่ 3 (Stage 3) ช่วงหลับลึก ช่วงการหลับในระยะนี้ร่างกายจะเริ่มไม่ค่อยตอบสนองต่อ
สิ่งเร้าภายนอก ถ้าถูกปลุกช่วงนี้จะงัวเงียมาก ร่างกายจะอยู่ในภาวะพักผ่อนมากที่สุด และมีการหลั่ง Growth Hormone

2) ช่วงหลับฝัน (Rapid Eye Movement Sleep หรือ REM Sleep)

การนอนหลับในช่วงนี้จะมีการเคลื่อนไหวไปมาของตาอย่างรวดเร็ว ซึ่งสมองของจะทำงานใกล้เคียงกับตอนที่ตื่น ถือเป็นช่วงที่มีโอกาสฝันมากกว่าการนอนหลับช่วงอื่นๆ การนอนหลับในระยะนี้จะช่วยเรื่องการความทรงจำ การเรียนรู้ถาวร และการสร้างจินตนาการ

ใครเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

ใครมีอาการเสี่ยงหยุดหายใจขณะหลับ

ความจริงแล้วทุกคนมีความเสี่ยงในการที่จะเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับ เพราะสามารถเกิดได้ทั้งเพศชายและเพศหญิง แต่คนที่มีความเสี่ยงสูงเกี่ยวกับภาวะหยุดหายใจขณะหลับนั้นได้แก่ ผู้ที่มีความผิดปกติทางโครงสร้างบริเวณทางเดินหายใจส่วนบน คอใหญ่ ผู้ที่มีน้ำหนักตัวมาก ดื่มแอลกอฮอล์ สูบบุหรี่จัด และผู้ที่มีประวัติคนในครอบครัวเคยเป็นภาวะหยุดหายใจขณะหลับมาก่อน เป็นต้น

อาการเสี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

อาการภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

• นอนกรนเสียงดังมาก หายใจเหมือนกรน และกรนดังเป็นประจำ จนเกิดความรำคาญต่อผู้ที่นอนร่วมด้วย
• มีลักษณะของการกรนแล้วหยุดเป็นพักๆ ตามด้วยอาการเหมือนสำลักขณะนอนหลับ
• หายใจติดขัด หายใจแรง เวลานอน
• รู้สึกนอนหลับไม่เต็มอิ่ม ตื่นบ่อย
• ตื่นนอนแล้วไม่สดชื่น มีอาการปวดศีรษะ
• ความรู้สึกทางเพศลดลง
• ง่วงนอนมากผิดปกติในตอนกลางวัน เช่น ขณะทำงาน หรือหลับในขณะขับรถ
• รู้สึกหงุดหงิดง่าย อารมณ์ไม่ดีบ่อยๆ
• ไม่มีสมาธิ ขี้ลืม

ใครมีอาการมากกว่า 3 ข้อที่กล่าวมาข้างต้นถือว่าเข้าข่ายภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ควรปล่อยไว้เพราะอันตรายถึงชีวิต

วิธีการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

https://youtu.be/yNpchEEgKpM

สามารถดูแลตัวเองเบื้องต้นได้ด้วยการปรับพฤติกรรมที่เคยชินของตัวเอง ได้แก่

– ลดการดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และการสูบบุหรี่ เพราะสิ่งเหล่านี้ทำให้ระบบทางเดินหายใจเกิดความ ผิดปกติ หรืออาจทำให้บวมขึ้นจนเกิดภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้
– ออกกำลังกายดูแลน้ำหนักให้ได้มาตรฐาน เพื่อช่วยให้พัฒนาระบบหายใจได้
– ปรับเปลี่ยนท่านอน เพราะท่านอนที่จะช่วยให้สามารถเลี่ยงภาวะหยุดหายใจขณะหลับได้นั่นคือการนอนตะแคง เพราะการนอนตะแคงจะสามารถทำให้เราหายใจได้สะดวกขึ้น

แต่การรักษาที่ตรงจุดและได้ผลมากที่สุดคือ ควรพบแพทย์เฉพาะทางในการรักษาภาวะหยุดหายใจขณะหลับซึ่งแพทย์จะทำการวินิจฉัย ตรวจร่างกาย และผลการตรวจการทดสอบสุขภาพการนอน หรือผล Sleep Test ที่จะวิเคราะห์การทำงานของระบบต่าง ๆ ในร่างกายระหว่างการนอนหลับ ยกตัวอย่างเช่น

วัดระดับความรุนแรงของการหยุดหายใจขณะหลับ
วัดระดับออกซิเจนขณะหลับ
วัดระดับออกซิเจนในแต่ละท่านอน
วัดระดับความดังของเสียงกรน
วัดระดับการนอน (Sleep stages)
วัดอัตราการเต้นของหัวใจ
เช็คว่านอนท่าไหนหยุดหายใจมากสุด

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ในโรคหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น (Obstructive sleep apnea; OSA) รวมถึงการกระตุกของกล้ามเนื้อต่าง ๆ และพฤติกรรมที่ผิดปกติระหว่างการนอนหลับ

Sleep test

สรุป

สุขภาพการนอนหลับ ถือเป็นอีกหนึ่งเรื่องที่สำคัญอย่างมากในการใช้ชีวิตที่ไม่ควรละเลย ถ้าเราสังเกตตัวเองและพบว่ามีความเสี่ยงในเรื่องภาวะหยุดหายใจขณะหลับ ไม่ควรที่จะปล่อยไว้ ควรจะไปพบแพทย์โดยด่วน เพื่อสุขภาพที่ดีของเราและการใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างสมดุล ใครที่มีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับสามารถทักมาปรึกษากับทาง Vital Sleep Clinic ได้เลยเพราะเราดูแลโดยแพทย์เฉพาะทางที่รับรองโดย American Board of Dental Sleep Medicine คนไข้จะได้คำแนะนำและได้รับการรักษาที่ตรงจุด เพราะทุกปัญหาการนอนไว้วางใจ Vital Sleep Clinic

Scroll to Top